ศีรษะล้านในผู้หญิง
ภาวะผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน พบได้ไม่น้อยในผู้หญิงยุคปัจจุบัน ผู้หญิงที่มีปัญหาเรื่องเส้นผม มักจะทุกข์ใจและกังวลใจมากกว่าผู้ชาย เพราะผู้หญิงกับความสวยงามเป็นของคู่กัน ดังคำโบราณที่ว่า "ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง"
สาเหตุของ ผมร่วง ผมบาง และ ศีรษะล้าน ในผู้หญิง มาจาก 3 สาเหตุใหญ่ๆ คือ
1.กรรมพันธุ์ เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด พบได้ประมาณ 90% ของคนไข้ผู้หญิงศีรษะล้าน มีอาการแสดงได้ 2 รูปแบบ คือ
แบบที่ 1 แบบที่พบได้บ่อย คือจะมี ผมบาง หรือ ศีรษะล้าน เฉพาะตรงบริเวณกลางๆศีรษะเท่านั้น ส่วนแนวผมด้านหน้ายังคงดีอยู่ไม่ถอยร่นเข้าไปเหมือนในผู้ชาย เชื่อกันว่ากลไกการเกิด ศีรษะล้าน แบบนี้ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับปริมาณ ฮอร์โมนเพศชาย ในร่างกาย แบ่งความรุนแรงออกเป็น 3 ระดับ คือ
แบบที่2 พบได้น้อย ลักษณะที่พบ คือจะมีศีรษะเถิกลึกเข้าไปเป็นง่ามแบบผู้ชาย แต่อาการมักไม่รุนแรงเช่นในผู้ชาย ศีรษะล้าน จากกรรมพันธุ์ แบบที่ 2 นี้ พบร่วมกับการมี ฮอร์โมนเพศชาย ในปริมาณที่สูงกว่าปกติ
การรักษา ศีรษะล้านจากกรรมพันธุ์ แบบที่ 2 นี้ ควรใช้วิธีการปลูกผมโดยการย้ายเซลล์ หลังปลูกผมแล้ว ควรใช้ยาเพื่อชะลอ หรือป้องกันไม่ให้ผมเดิม (ผมที่ไม่ได้ปลูก) ร่วงมากขึ้น มิฉะนั้น ผมเดิมก็จะบางลงอีก และ/หรือ พื้นที่ของศีรษะล้านก็อาจจะเพิ่มขึ้น จนอาจต้องกลับมาปลูกผมซ้ำอีก
แม้ว่าภาวะศีรษะล้านกรรมพันธุ์ในผู้หญิงจะพบได้ไม่มากเมื่อเทียบกับ ผู้ชาย แต่การรักษาทำได้ยากกว่าและอาจได้ผล ไม่ดีเท่าในผู้ชาย เนื่องมาจาก - ผู้หญิงมักมีความคาดหวังค่อนข้างสูง หลายคนคาดหวังว่า หลังใช้ยา และ/หรือ ปลูกผม แล้ว เส้นผมจะกลับไปหนาเหมือนอย่างที่เคยมี ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน - เส้นผมตรงบริเวณท้ายทอย ที่จะย้ายมาปลูกทดแทนเส้นผมที่สูญเสียไป มักจะเส้นเล็ก และไม่หนาแน่นเท่าในผู้ชาย จำนวนเซลล์ผมที่ย้ายมาปลูกได้ในการทำแต่ละครั้ง จึงมีจำนวนจำกัด ทำให้ผลของการปลูกผมในแต่ละครั้งไม่ดีเช่นในผู้ชาย จึงอาจต้องทำหลายครั้ง เพื่อให้ได้ผลอย่างที่ต้องการ(กรุณาอ่านเพิ่มเติมในหัวข้อ ต้องรู้ก่อนปลูกผม) - ยาที่ใช้หยุด หรือชะลอเส้นผมที่จะร่วงต่อไปในอนาคต ได้ผลไม่ดีเช่นในผู้ชาย แม้ว่าจะได้ปลูกผมทดแทนเส้นผมที่สูญเสียไปแล้วก็ตาม แต่เส้นผมที่ยังมีอยู่(ผมที่ไม่ได้ปลูก) ก็ยังอาจจะร่วงต่อไปอีกในอนาคต การใช้ยาเพื่อหยุด หรือชะลอไม่ให้ผมร่วงมากขึ้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง แต่ทว่า ยารักษาผมร่วง จากกรรมพันธุ์ในผู้หญิงในปัจจุบัน มีไม่มาก และได้ผลประมาณ 20%-45% เท่านั้น ขณะที่ยารักษาผมร่วงในผู้ชายได้ผลกว่า 66-88% |
![]() |
โรคผมร่วงจากโรคจิต ที่ชอบถอนผมตัวเอง |
ภาวะหลังหมดประจำเดือน เนื้องอกของรังไข่ ที่ผลิตฮอร์โมนเพศชาย ยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัด ยาลดความดัน ยาลดไขมันในเลือด ยาคุมกำเนิดบางชนิด ยากันชัก ยารักษาภาวะซึมเศร้า ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ฯลฯ ความเครียด ผู้หญิงที่ชอบรวบผมให้ตึงเกินไปอยู่ตลอดเวลา ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้ผมร่วงได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังอาจมีสาเหตุอื่น ๆ อีก ซึ่งไม่อาจนำมากล่าวได้หมด ณ ที่นี้
จะเห็นได้ว่า สาเหตุของผมร่วงในผู้หญิงนั้นมีมากมาย การวินิจฉัยแยกโรคจึงจำเป็นต้องอาศัยการซักประวัติ และตรวจร่างกายอย่างละเอียด ในบางกรณียังอาจมีความจำเป็นต้องเจาะเลือด หรือตัดชิ้นเนื้อชิ้นเล็ก ๆ จากบริเวณที่ผมร่วง ส่งไปตรวจหาสาเหตุ เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
โรคผมร่วงชนิดเป็นหย่อม |
การรักษาศีรษะล้านจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่กรรมพันธุ์ กลุ่มนี้ให้รักษาตามสาเหตุ เมื่อรักษาหายแล้ว ส่วนใหญ่เส้นผมจะกลับขึ้นมาเป็นปกติ
3. หน้าผากสูง หรือกว้างแต่กำเนิด มีผู้หญิงอีกจำนวนไม่น้อย ที่ไม่มีปัญหาเรื่องเส้นผม แต่มีหน้าผากสูง หรือหน้าผากกว้างแต่กำเนิด ทำให้ขาดความมั่นใจ และไม่สามารถทำผมบางทรงที่อยากทำได้ ก็มักเข้ามาขอคำปรึกษา ให้ช่วยแก้ไขอยู่เสมอๆ การรักษา ใช้วิธีการปลูกผมโดยการย้ายเซลล์จะได้ผลดี เพราะไม่ต้องพะวงถึงเรื่องเส้นผมที่จะร่วงต่อไปในอนาคต
แม้ว่าผู้หญิงจะมีข้อจำกัดในการรักษา แต่ก็มิใช่ว่าจะหมดหวัง หากสิ่งที่คุณคาดหวังไว้ มิได้เกินไปกว่าความเป็นจริงที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันที่จะช่วยคุณได้
ตัวอย่างรูปก่อน-หลังการปลูกผมในผู้หญิง |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |